เรียกได้ว่า
รถยนต์ไฟฟ้า เป็นตลาดที่กำลังมาแรงในยุคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีผู้ใช้รถยนต์หลายคนเริ่มหันมาเห็นประโยชน์และให้ความสำคัญในการใช้รถยนต์ประเภทนี้กันมากขึ้น มีทั้งกลุ่มที่กำลังมองหารถยนต์ใช้เป็นคันแรก และคนที่อยากจะมีรถใช้เป็นคันสำรอง
อีกทั้งในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากทั่วทุกมุมโลก ก็ได้เปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ มากมาย เรียกได้ว่า รุ่นเดิมๆ ยังไม่เก่าหรือยังไม่ตกรุ่นจนเข้าสู่ตลาดรถมือสองเลย รุ่นใหม่/แบรนด์ใหม่ ก็โหมโรงกันมาเป็นกองทัพ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ BYD, Neta, Tesla, GMW, MG, Volt หรือ Wuling เป็นต้น (เริ่มรู้สึกไม่คุ้นชื่อกันแล้วจริงไหมครับ !?)
ฉะนั้นถึงแม้ฟิล์มลามิน่าจะไม่ได้เป็นแบรนด์ผู้ผลิต
รถยนต์ไฟฟ้า แต่ในฐานะที่เราคือผู้คิดค้นเทคโนโลยีฟิล์ม
DigitalBoost® เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้ยานยนต์ยุคใหม่ เพิ่มประสบการณ์การขับขี่ที่ยอดเยี่ยมให้ผู้ใช้รถโดยเฉพาะเราจึงขอเป็นหนึ่งในผู้ช่วยของคุณรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจทุกด้านเกี่ยวกับรถไฟฟ้า ก่อนคุณตัดสินใจซื้อ มาให้คุณอ่านพร้อมกันในบทความนี้ครับ
อยากเลือกอ่านบางเนื้อหาที่สนใจ กดที่หัวข้อได้เลยครับ
|
รถยนต์ไฟฟ้า คืออะไร?
รถยนต์ไฟฟ้า ภาษาอังกฤษที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ จนคุ้นเคย นั่นก็คือชื่อ รถ EV ย่อมากจาก Electronic Vehicle (แปลตรงตัว ก็คือ รถยนต์ไฟฟ้า นั่นเอง)
รถยนต์ไฟฟ้า คือ รถยนต์ที่มีการใช้ไฟฟ้า (Electric) เป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อนรถยนต์ โดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่เก็บสะสมอยู่ในแบตเตอรี่รถยนต์รถไฟฟ้า แทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลงที่ใช้กันในรถยนต์แบบสันดาป
รถยนต์ไฟฟ้าแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ถึงแม้จะเรียกว่า “รถยนต์ไฟฟ้า” แต่รถประเภทนี้เองก็มีหลากหลายประเภท ไม่ใช่มีเพียงแค่รถที่ใช้ไฟฟ้าล้วน 100% แบบเดียวเท่านั้น! มาลองดูกันว่าจะมีการใช้กลไกแบบไหนบ้าง
1. รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV)
BEV คือ รถยนต์ที่เป็น All Electric Vehicle ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว โดยจะเป็นการเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟจากแหล่งพลังงานภายนอก มาสะสมในแบตเตอรี่ภายในรถยนต์ (ใช้ไฟฟ้า 100%) จึงไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เป็นมลพิษออกมาจากรถเลย มีอีกชื่อเรียก คือ Pure Electric Vehicle: PEV
ข้อดีของรถ BEV
- ค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มถูกกว่าค่าน้ำมัน ทำให้ค่าใช้จ่ายในภาพรวมของรถยนต์ไฟฟ้า มีแนวโน้มที่ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
- ขับง่าย ไม่ต้องพะวงเรื่องการเปลี่ยนเกียร์
- แบตเตอรี่มีความจุสูง ทำให้ได้ระยะทางการขับขี่ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เทียบเท่าหรือมากกว่าการใช้น้ำมัน โดยมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า
- ค่าบำรุงรักษารวมต่ำกว่า (ยกเว้น ค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ที่ปัจจุบันยังมีราคาสูง)
- ไม่ก่อให้เกิดการสร้างมลภาวะ และได้รับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ด้านภาษี
ข้อจำกัดของรถ BEV
- การชาร์จไฟฟ้าให้เต็ม 100% ใช้เวลานานกว่าการเติมน้ำมันให้เต็มถัง
- เนื่องจากข้อจำกัดด้านราคาของแบตเตอรี่ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันมีราคาเริ่มต้นเฉลี่ยที่สูงกว่ารถยนต์สันดาปทั่วไป
- หากเทียบที่รถสมรรถนะเท่ากับ รถยนต์ไฟฟ้าที่ชาร์จเต็ม 100% จะวิ่งได้ระยะทางที่น้อยกว่ารถที่เติมน้ำมันเต็มถัง
- ประกันของรถยนต์ไฟฟ้า มีราคาสูงกว่ามาก
2. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV)
HEV คือ รถยนต์ลูกผสมระหว่างระบบเครื่องยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนเป็นหลัก ร่วมกับการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ หรือก็คือ เป็นรถยนต์ที่มีการนำไฟฟ้าเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการทำงาน ทำให้ใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากน้ำมันน้อยกว่ารถยนต์สันดาปทั่วไป (ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า) ตัวอย่างรถยนต์ HEV ที่ได้รับความนิยม เช่น Honda HRV หรือ Toyota Prius นั่นเองจนประสบความสำเร็จสร้างกระแส “All-American Cars” ที่ดาราฮอลลีวู้ดชื่อดังยังยกใจให้ครับ
Prius คือ หนึ่งในความภาคภูมิใจของ Toyota Hybrid
ดังจนถึงขั้นเป็น meme เลยทีเดียว
ข้อดีของรถ BEV
- รถ HEV มีราคาที่ถูกกว่ารถ PHEV และ BEV
- ระบบเลือกการทำงานระหว่างการใช้เชื้อเพลิง สลับกับระบบไฟฟ้า ตามความเหมาะสม ช่วยให้มีอัตราการเร่งที่ดีในเวลาขับ
- ช่วยประหยัดค่าน้ำมันได้มาก หากขับในเมือง (หรือระยะทางที่ไม่ไกล)
ข้อจำกัดของรถ BEV
- ขับรถ HEV ทางไกล ไม่ได้ช่วยให้ประหยัดน้ำมันมากนัก
- แบตเตอรี่มีความจุน้อย และมีราคาสูงมาก
- สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ถือว่าน้อยกว่ารถ BEV/PEV
3. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-In Hybrid Electric Vehicle: PHEV)
PHEV คือ รถที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปจากน้ำมันเชื้อเพลงเป็นหลัก แต่มีช่องเสียบปลั๊กที่รถเพื่อชาร์จไฟฟ้าได้โดยตรงเพิ่มเข้ามา ซึ่งแบตเตอรี่ของ PHEV สามารถจุพลังงานได้มากกว่ารถ HEV ทั่วไป มีความสามารถในการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ด้วยตนเองขณะขับเคลื่อนรถด้วยพลังงานน้ำมัน หรือทุกครั้งที่เหยียบเบรก ถอนคันเร่ง หรือจะเสียบปลั๊กชาร์จจากสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้โดยตรงก็ได้ ตัวอย่างรถยนต์ PHEV ที่ได้รับความนิยม เช่น Volvo XC60 Recharge หรือ Haval H6 PHEV เป็นต้นครับ
ข้อดีของรถ BEV
- ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เพราะรถยนต์ PHEV สามารถเสียบชาร์จไฟเข้ารถโดยตรงได้ ทำให้แหล่งพลังงานกักเก็บไฟฟ้าได้เยอะขึ้น
- สามารถใช้พลังงานของแบตเตอรี่เป็นพลังงานหลักได้ (เหมาะกับการเดินทางสั้น ๆ)
ข้อจำกัดของรถ BEV
- รถ PHEV มีราคาสูง เมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาปที่อยู่ใน Segment เดียวกัน
- ต้องดูแลรถยนต์มากกว่าปกติ เพราะมีทั้งในส่วนที่ทำงานให้เครื่องยนต์สันดาป และส่วนที่เป็นระบบไฟฟ้า
4. รถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV)
FCEV คือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเช่นกัน แต่เป็นพลังงานไฟฟ้าจากการติดตั้งเซลล์เชื้อเพลง (Fuel Cell) ที่ใช้กระบวนการทางเคมีในการเปลี่ยนไฮโดรเจนให้กลายเป็นไฟฟ้า รถยนต์ FCEV จึงไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้เสียบปลั๊กชาร์จเหมือนรถยนต์ BEV หรือ PHEV แต่จะใช้การเติมก๊าซไฮโดรเจนเพื่อเป็นเชื้อเพลิงแทน
ข้อดีของรถ BEV
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนรถ EV เพราะไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากท่อ จะมีแค่น้ำที่ระเหยออกมาเท่านั้น
- ใช้เวลาเติมก๊าซไฮโดรเจนเท่า ๆ กับการเติมน้ำมันในรถยนต์สันดาป (ใช้เวลาน้อยกว่าการชาร์จไฟฟ้า)
- สามารถเก็บพลังงานได้นานกว่ารถยนต์ BEV (สามารถวิ่งได้ไกลกว่ารถยนต์ไฟฟ้าแบบอื่น ๆ)
- รถยนต์มีน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดพลังงาน
ข้อจำกัดของรถ BEV
- ก๊าซไฮโดรเจนมีคุณสมบัติติดไฟได้ไวมาก ฉะนั้น ต้องระวังเรื่องความปลอดภัยในการเกิดประกายไฟเป็นอย่างมาก
- สถานีเติมไฮโดรเจนยังถือว่ามีน้อยมาก ๆ ในประเทศไทย
- ปัจจุบันมีเพียงค่ายรถ Toyota เท่านั้นที่มีนโยบายผลิตรถ FCEV อย่างชัดเจน
5. รถยนต์ไฟฟ้าผสมขยายระยะ (Range Extended Electric Vehicle: REEV)
REEV คือ รถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยด้วยแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเป็นหลัก (บางค่ายผู้ผลิตเรียก REx หรือ BEVx) โดยตัวรถยนต์ จะมีชุดแบตเตอรี (battery pack) หรือมีถังน้ำมันสำรองขนาดเล็ก 5-10 ลิตร ช่วยปั่นพลังงานไฟฟ้าสำรองเข้าสู่แบตเตอรี่หลัก ซึ่งช่วยทำให้ตัวรถสามารถวิ่งมีระยะไกลมากขึ้น ลดปัญหาความกังวลเมื่อแบตเตอรี่รถใกล้หมดในพื้นที่ๆ ห่างไกลสถานีชาร์จ และลดความจำเป็นในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้เต็ม 100% ตลอดเวลาเหมือนรถ BEV เพราะ “ไฟหมดก็ปั่นต่อได้” ด้วยน้ำมันเพียงเล็กน้อย
หรือถ้าให้ลามิน่าอธิบายเข้าใจง่ายๆ รถยนต์ไฟฟ้าประเภท REEV ก็คือขั้วตรงข้ามของรถยนต์ประเภท HEV (REEV : แบตเตอรี่ใหญ่ ถังน้ำมันเล็ก / HEV : แบตเตอรี่เล็ก ถังน้ำมันใหญ่) นั่นเองครับ ตัวอย่างรถ REEV ก็ได้แก่ Mazda MX-30, BMW i3 REx เป็นต้นครับ
ข้อดีของรถ BEV
- สัมผัสประสบการณ์การขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าไม่ต่างกับรถ BEV (ต่างจาก HEV/PHEV ที่หัวใจหลักยังเป็นเครื่องยนต์สันดาป)
- มีความจำเป็นในการพึ่งพึงสถานีชาร์จรถไฟฟ้าน้อยกว่ารถประเภทอื่นๆ
- วิ่งได้ระยะทางมากกว่ารถ BEV
ข้อจำกัดของรถ BEV
- การดูแลรักษามีความซับซ้อนกว่า เนื่องจากจำเป็นต้องมีการติดตั้งระบบปั่นไฟฟ้าจากเครื่องยนต์สันดาปเพิ่มเติม
- อาจก่อให้เกิดเสียงที่ไม่พึงประสงค์ในการขับขี่ เมื่อใช้โหมดปั่นพลังงานชาร์จจากเครื่องยนต์เล็ก (APU)
- ราคาสูงกว่ารถยนต์ BEV ในรุ่นเดียวกัน
แนะนำ แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า ยอดฮิตในไทย (ปี 2023)
รู้จัก Landscape หรือภาพรวมของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้ากันไปแล้ว ในหัวข้อนี้เรามาดูรถยนต์ไฟฟ้ายอดนิยมของผู้ใช้คนไทยในปี 2023 (จากสถิติของลูกค้าที่เข้ามาติดฟิล์มลามิน่านั่นเอง…เพราะรถรุ่นไหนขายดี ฟิล์มของเราก็ขายดีไปด้วยครับ)
รุ่นและแบรนด์รถ EV ที่น่าสนใจจะมีอะไรบ้าง อ่านต่อไปพร้อมกันได้เลยครับ
1. Tesla
ก่อนที่ Tesla จะบุกเข้าตลาดรถยนต์ในประเทศไทย รถจากแบรนด์นี้เองก็ขึ้นชื่อในเรื่องความล้ำหน้าของเทคโนโลยีอยู่แล้ว และหลังจากที่ทาง Tesla ได้เริ่มเปิดตัวในประเทศไทยไปในช่วงปลายปี 2565 ก็ได้รับกระแสการตอบรับที่ดีมากเกินคาด จนทำให้ยอดจองในปี 2565 มีจำนวนสะสมรวม สูงถึง 7,739 คัน! (ข้อมูลจาก
autolifethailand.tv)
โดยรถยนต์ Tesla ยอดฮิตที่หลายคนให้ความสนใจ ได้แก่ Tesla Model 3 ที่มีความสปอร์ตซีดานแบบฉบับ Tesla และ Tesla Model Y ที่มีพื้นที่ใช้สอยกว้างขวางระดับรถ Crossover SUV นั่นเอง
Tesla Model Y x Lamina Digital Ceramatrix
รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3
2. MG
Morris Garages หรือที่เราคุ้นกันในชื่อ MG เป็นค่ายรถยนต์เจ้าใหญ่อีกหนึ่งเจ้าที่ได้รับความนิยมในไทย ที่ไม่ใช่แค่รถยนต์สันดาปเท่านั้น แต่ MG เอง ยังมี Segment ในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าออกมาเอาใจคนรักษ์โลก รักความประหยัดกันด้วย ซึ่งรุ่นรถยนต์ไฟฟ้าจากค่าย MG ที่นิยมในไทยตอนนี้ ได้แก่ MG EP, MG HS PHEV และที่เพิ่งเปิดตัวไปเร็วๆ นี้ กับ MG4 นั่นเองครับ
MG EP Plus x Lamina Digital EV Boost
MG4 Electric ดีไซน์สวยไม่เบาเลย จริงไหมครับ!
MG HS PHEV x Lamina Digital EV Boost
3. GWM
ค่ายชื่อดังจากประเทศจีน Great Wall Motor (GWM) ที่เข้ามาตีตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างน่าสนใจ ด้วยดีไซน์รถที่มีความสวยงามถูกใจคนไทย เน้น Segment ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่างชัดเจน จับกลุ่มผู้ใช้รถทุกเพศทุกวัย เริ่มตั้งแต่รถยนต์ดีไซน์น่ารัก อย่าง Ora Good Cat, รถยนต์เอนกประสงค์อย่าง Haval H6 และอีกรุ่นดีไซน์เท่ ดุดัน ที่กำลังมาแรงในตอนนี้ อย่าง TANK 300 ครับ
Ora Good Cat x Lamina Digital Ceramatrix
Haval H6 x Lamina Digital Ceramatrix
TANK 300 HEV สุดเท่จาก GWM
4. BYD
แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าค่าย BYD หรือชื่อเต็มมาจาก Build Your Dream เป็นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่มอบประสบการณ์การขับขี่ไม่เหมือนใคร ด้วยดีไซน์ Gimmick ที่มีความสร้างสรรค์ สร้างประสบการณ์การโดยสารที่ไม่ซ้ำใคร อย่างเช่น BYD Atto3 ด้วยดีไซน์สายกีต้าร์บนประตู! หรือ จอ Infotainment หมุนได้จากแนวนอนเป็นแนวตั้ง (เท่ไหมล่ะ) เลยทำให้แบรนด์นี้เข้าไปครองใจใครหลาย ๆ คน รุ่นยอดนิยมจากค่ายนี้นอกจาก Atto 3 แล้ว ยังมีรุ่น Dolphin และ SEAL ที่เพิ่งเปิดตัวไปและน่าจะถูกใจลูกค้าในไทยกันแน่นอน
BYD Atto3 x Lamina Digital Ceramatrix
BYD Atto3 x Lamina Digital Ceramatrix
5. NETA
รถยนต์ไฟฟ้า
City Car สัญชาติจีนมาแรง! แต่ราคาไม่แรง! ด้วยคอนเซปต์
Touchable Smart EV หรือก็คือ รถ EV ที่ใครก็สามารถเป็นเจ้าของได้ โดยเริ่มเปิดตัวจากรุ่น NETA V รถยนต์ไฟฟ้าสไตล์ Crossover ราคาเริ่มต้นเบาๆ เพียง 549,000 บาท ผ่อนสบายๆ เพียง 5,xxx บาท/เดือน คุณก็สามารถเป็นหนึ่งในผู้นำเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าได้แล้วเช่นกัน (ข้อมูลจาก
www.autofun.co.th)
รถยนต์ไฟฟ้า NETA V
5 สิ่ง ที่ต้องคิด! ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
หลังจากที่หลายท่านได้เห็น Landscape ภาพกว้างของจักรวาลรถยนต์ไฟฟ้ากันไปแล้ว เชื่อเลยว่าเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ก็คงจะรู้สึกกระเป๋าสตังค์สั่นๆ จนอยากออกรถ EV ไว้สักคันไม่มากก็น้อย
แต่ใจเย็นๆ ก่อน… เพราะยังไงการซื้อรถก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ ซึ่งก่อนที่ท่านจะตัดสินใจซื้อ ลามิน่าก็อยากให้ท่านพิจารณา “5 ปัจจัยที่ควรรู้ ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า” ให้ครบถ้วนดูเสียก่อน จะได้มั่นใจว่าได้รถยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณที่สุด จะมีปัจจัยอะไรบ้างมาดูกันครับ!
1. ราคา
สำหรับราคาของรถ EV มีตั้งแต่หลักหลายแสนบาท ไปจนถึงหลักหลายล้านบาท รถแต่ละช่วงราคาต่างก็มีการออกแบบและสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกัน
รถยนต์ไฟฟ้าช่วงราคา 300,000 - 500,000 บาท ส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กกว่ารถยนต์ทั่วไป มีความกะทัดรัด รถ EV ในช่วงราคา 500,000 - 900,000 บาท จะเริ่มเป็นรถดีไซน์ที่มีขนาดเท่า ๆ กับรถยนต์สันดาปขนาด B-C Segment ทั่วไปซึ่งรถในช่วงราคานี้ มีทั้งรถเก๋ง, Mini SUV และสไตล์ Wagon
รถยนต์ไฟฟ้า จากค่าย BMW ดีไซน์ Classic ตลอดกาล
ส่วนรถ EV ที่มีราคา 1,000,000 บาทขึ้นไปนั้น มีหลากหลาย Segment ทั้งรถเก๋ง, รถ SUV, รถตู้ ให้ได้เลือกกันตามความชอบตามการใช้งาน
นอกจากนี้ ค่ายรถยนต์ Luxury Car ต่าง ๆ ก็ได้ลงเข้ามาร่วมผลิตรถ EV ที่ตอบโจทย์ตลาดกลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน จะเลือกรถ EV ในช่วงราคาใด ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและงบประมาณการซื้อของคุณครับ
2. ค่าประกันรถยนต์ EV และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าที่มีใช้งานจริงบนท้องถนนเมืองไทย ยังถือว่ามีสัดส่วนค่อนข้างน้อย (ยอดจองรถยนต์ทั้งหมดในปี 2023 รถยนต์ไฟฟ้ายังกินสัดส่วนเพียง 18% เท่านั้น) จึงมีข้อจำกัดในเรื่องของอะไหล่และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อยู่ ประกันรถ EV จึงมีแค่เพียง “ประกันศูนย์” และไม่มีประกันอู่ครับ
ทำให้ เบี้ยประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าอาจสูงกว่ารถสันดาปถึง 4 เท่า ยกตัวอย่างเช่น เบี้ยจ่ายประกันภัยชั้น 1 สำหรับรถ EV อาจมีได้ตั้งแต่ราคา 20,000 - 80,000 บาท/ปี เลยทีเดียว (แล้วแต่ Segment รถยนต์)
แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่ซับซ้อนเหมือนรถเครื่องยนต์สันดาป จึงทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาจุกจิก และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต่ำกว่ารถยนต์แบบเดิมถึง 50% (แต่อย่าให้แบตเตอรี่พังเอานะครับ เพราะเปลี่ยนทีนึงอาจหมายถึงค่าใช้จ่ายประมาณ 50-80% ของราคาขายรถได้เลย)
3. แบตเตอรี่ที่รถ EV ใช้
สำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า มีหลากหลายประเภทด้วยกัน ฉะนั้นก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า EV ผู้ใช้งานควรศึกษาเรื่อง
แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า อย่างต่อเนื่อง
แบตเตอรี่ LFP vs NMC แบบไหนดีกว่ากัน?
สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้กันในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นแบตเตอรี่ชนิด LFP (Lithium Ion Phosphate หรือในอีกชื่อคือ LiPO) และชนิด NMC (Lithium Nickel Manganese Cobalt Oxide) ซึ่งทั้งสองแบบ ต่างก็มีข้อดี ข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เราได้สรุปไว้สั้น ๆ ในตารางให้เรียบร้อยแล้ว
แบตเตอรี่ LFP
ข้อดีของแบต LFP |
ข้อจำกัดของแบต LFP |
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน? |
- ทนต่ออุณหภูมิสูงได้ดี
- ราคาถูกกว่าแบต NMC
- อายุการใช้งานนานกว่า NMC
- สามารถชาร์จแบตเต็ม 100% ได้
|
- กักเก็บพลังงานได้น้อยกว่า NMC
- ในช่วงที่แบตเตอรี่ใกล้หมด พลังงานจะลดลงอย่างรวดเร็ว
|
เหมาะกับการขับภายในเมือง เช่น
ขับไปทำงาน ไป-กลับ ในชีวิตประจำวัน |
ข้อดีของแบต LFP |
- ทนต่ออุณหภูมิสูงได้ดี
- ราคาถูกกว่าแบต NMC
- อายุการใช้งานนานกว่า NMC
- สามารถชาร์จแบตเต็ม 100% ได้
|
ข้อจำกัดของแบต LFP |
- กักเก็บพลังงานได้น้อยกว่า NMC
- ในช่วงที่แบตเตอรี่ใกล้หมด พลังงานจะลดลงอย่างรวดเร็ว
|
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน? |
เหมาะกับการขับภายในเมืองเช่น
ขับไปทำงาน ไป-กลับ ในชีวิตประจำวัน |
แบตเตอรี่ NMC
ข้อดีของแบต NMC |
ข้อจำกัดของแบต NMC |
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน? |
- มีความหนาแน่นของพลังงาน(Energy Density) สูงกว่าแบตแบบ LFP
- ขนาดแบตเตอรี่เล็กกว่า LFP (เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ NMC ที่ให้พลังงานเท่ากัน)
|
- มีอายุการใช้งานสั้นกว่าแบตเตอรี่ LFP
- ไม่เหมาะกับการชาร์จ 100% (แนะนำชาร์จที่ช่วง 80-90% จะช่วยยืดอายุการใช้งานแบตฯ ได้มากขึ้น)
|
เหมาะกับการใช้งานในระยะทางไกล |
ข้อดีของแบต NMC |
- มีความหนาแน่นของพลังงาน(Energy Density) สูงกว่าแบตแบบ LFP
- ขนาดแบตเตอรี่เล็กกว่า LFP (เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ NMC ที่ให้พลังงานเท่ากัน)
|
ข้อจำกัดของแบต NMC |
- มีอายุการใช้งานสั้นกว่าแบตเตอรี่ LFP
- ไม่เหมาะกับการชาร์จ 100% (แนะนำชาร์จที่ช่วง 80-90% จะช่วยยืดอายุการใช้งานแบตฯ ได้มากขึ้น)
|
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน? |
เหมาะกับการใช้งานในระยะทางไกล |
|
4. ระบบ Infotainment ของรถยนต์ไฟฟ้า
การมีระบบ Infotainment ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านความสะดวกและความบันเทิง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มประสบการณ์ระหว่างการขับขี่ได้ดียิ่งขึ้น ฉะนั้น! ก่อนจะซื้อรถ EV คันที่เล็งไว้อยู่ อย่าลืมลองเช็คระบบ Infotainment ที่ค่ายผู้ผลิตให้มาด้วยนะครับ ว่าตอบโจทย์ความต้องการของเราหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบปฏิบัติการ ความยากง่ายในการใช้งานของ User Interface เป็นต้น
เพราะไม่แน่ ท่านอาจจะเป็นหนึ่งในเสียงสะท้อนบนโลกออนไลน์ที่ไม่ชอบ Infotainment บน Touch Screen แต่กลับชอบปุ่มแบบเดิมๆ ที่ใช้งานง่ายกว่า รู้สึกปลอดภัยกว่า (ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมอ่านต่อที่บทความ Infotainment ได้เลย !!!)
5. ระบบ ADAS
หรือเรียกในภาษาไทยว่า “ระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะ” ที่มีหน้าที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร โดยความสามารถของระบบมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 ระดับ ตั้งแต่ L1 - L5 การมี
ระบบ ADAS ที่ Level สูง ก็จะมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการขับขี่เพิ่มมากขึ้น เช่น ระบบ Adaptive Cruise Control Stop and Go, Auto Lane Change, Geo-Fencing รวมถึง Auto Pilot ฯลฯ
หลักพิจารณาง่ายๆ เลยก็คือ ยิ่งความสามารถสูง ราคาค่าซอฟท์แวร์หรือเฟิร์มแวร์ก็สูงขึ้นตามเช่นกัน เช่น ระบบ ADAS ของแบรนด์รถยนต์ Tesla ที่มีชื่อว่า FSD (Full Self Driving) ราคาจากเดิม 244,000 ตอนนี้พุ่งสูงถึง 369,0001 ไปแล้ว
ใครที่สนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ก็อย่าลืมเตรียมงบประมาณให้เหมาะสมกับฟีเจอร์ที่ต้องการด้วยนะครับ
มีรถ EV แล้ว อย่าลืมติดฟิล์มกรองแสงที่เหมาะสม
Lamina Digital EVS
มีรถยนต์ขับแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือการติดตั้ง “
ฟิล์มรถยนต์” โดยเฉพาะ
การเลือกฟิล์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่ฟิล์มอะไรก็ได้! เพราะภายในรถยนต์ไฟฟ้ามีการใช้สัญญาณดิจิทัลยุคใหม่ต่าง ๆ มากมาย อาทิ การอัปเดตเฟิร์มแวร์แบบออนไลน์อัตโนมัติ (Firmware Over-The-Air หรือ FOTA), การเชื่อมกับมือถือ Smartphone ผ่านสัญญาณบลูทูธ, การใช้งานระบบสั่งการต่าง ๆ เป็นต้น
การใช้ฟิล์มรถยนต์ที่เหมาะกับรถ EV โดยเฉพาะ จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถใช้สมรรถนะของรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ เพราะนอกจากการติดฟิล์มครั้งหนึ่งจะเป็นการที่ฟิล์มกรองแสงนั้นอยู่กับรถของเราไปนานแสนนาน คุณสมบัติการผ่านสัญญาณก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้การทำงานของระบบในรถ EV นั้น เร็ว แรง ลื่น เสถียร ใช้งานแล้วไม่สะดุด! ตลอดอายุการใช้งานของรถ
Lamina แนะนำ เทคโนโลยี DigitalBoost®
ช่วยบูสต์ประสิทธิภาพระบบดิจิทัลยุคใหม่ในรถ
ให้พร้อมใช้งานเต็ม 100% เร็ว แรง ลื่น เสถียร
ซึ่งผนึกอยู่ในเนื้อฟิล์มลามิน่าทั้ง 5 ซีรีย์ ได้แก่
-
ฟิล์มดิจิทัลที่ผลิตจากนวัตกรรม AiCeramic 100% กันความร้อนได้สูงขึ้น ช่วยประหยัดพลังงานแบตเตอรี่ พร้อมช่วยบูสต์สัญญาณดิจิทัลให้ เร็ว แรง ลื่น เสถียร
-
ฟิล์มดิจิทัลที่ผลิตจากเทคโนโลยี Nano CM-Multiplex นวัตกรรมล่าสุดจาก Eastman Performance Films, LLC USA เพื่อยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ
-
ฟิล์มดิจิทัลเซรามิคแท้ 100% คุณภาพอันดับ 1 ดำนอก สว่างใน กันร้อนได้สูงกว่าฟิล์มเซรามิคทั่วไปในปัจจุบัน เสริมด้วยเทคโนโลยี DigitalBoost® ให้ทุกสัญญาณทำงานได้เร็ว แรง ลื่น เสถียร
-
ฟิล์มเซรามิคแท้ 100% กันร้อนสูง ที่ได้มาตรฐานระดับโลก S.A.C.T มีความหนา 4 mm. แต่ยังมีคุณสมบัติรองรับสัญญาณดิจิทัล มีความทนทานกว่า 10 เท่า ช่วยป้องกันการโจรกรรมได้เป็นอย่างดี
-
ฟิล์มรถยนต์เพื่อสุขภาพสายตา ด้วยเนื้อฟิล์ม High Block Soft Vision ช่วยให้มองทัศนวิสัยได้สบายตา ปกป้องผิวจากรังสี UVA UVB และยังช่วยบูสต์ทุกสัญญาณดิจิทัลให้ เร็ว แรง ลื่น เสถียร ได้อีกด้วย
-
ฟิล์มรถยนต์ Nano Digital Matrix 100% ผนึกเทคโนโลยี DigitalBoost® เข้ากับเนื้อฟิล์มซุปเปอร์นาโนชนิดพิเศษ เคลียร์ ชัด สวยกว่าฟิล์มทั่วไป ให้คุณได้ใช้ระบบดิจิทัลบนรถ EV อย่างเต็มที่
-
ฟิล์มดิจิทัลเพื่อรถยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงยุค 5G ที่ใช้นวัตกรรม Nano Digital Hybrid 100% เสริมด้วยเทคโนโลยี DigitalBoost® ผสานลงบนเนื้อฟิล์ม Supernano เพิ่มความเคลียร์ชัดเป็นพิเศษ
สรุป
ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์การขับรถ EV ที่ดีที่สุด ควรคิดถึง 5 ปัจจัยนี้ก่อนตัดสินใจซื้อไม่ว่าจะเป็น ราคา, ชนิดแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า, ระบบ Infotainment ที่ต้องการ, ระบบ ADAS ที่มาพร้อมรถยนต์ ค่าบำรุงรักษา และ ค่าประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนฟิล์มรถยนต์ที่เหมาะกับรถ EV ฟิล์มลามิน่าขอแนะนำฟิล์มนวัตกรรมใหม่ที่มีเทคโนโลยี DigitalBoost® เท่านั้นครับ
ขอแนะนำเทคโนโลยีฟิล์มกรองแสงเพื่อรถ EV ยุคใหม่