หากลองมองตามรถยนต์แต่ละคันที่วิ่งบนท้องถนน จะเห็นได้เลยครับว่ามีฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่หลากสีสันมากเลยทีเดียว บทความนี้จะพาทุกท่านไปเปิดโลกของ “สีฟิล์มรถยนต์” ให้เห็นกันครับ ว่าปัจจุบันโดยเฉพาะแบรนด์ฟิล์มลามิน่าของเรา มีฟิล์มรถยนต์สีอะไรบ้าง? พร้อมแนะนำวิธีการเลือกสีฟิล์มกรองแสงให้เหมาะกับรถยนต์ของคุณ รายละเอียดจะเป็นยังไง ติดตามที่บทความนี้ได้เลยครับ
อยากรู้เรื่องไหน? กดเลือกอ่านตามหัวข้อที่สนใจได้เลย
|
ลามิน่ามีฟิล์มกรองแสงสีอะไรบ้างนะ?
ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยทำให้ฟิล์มกรองแสงรถยนต์มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดทุกปี ทั้งในด้านคุณสมบัติและสีสันความสวยงาม โดยที่ Lamina Films เรามีฟิล์มหลากหลายรุ่นจำหน่ายรวมเกือบ 50 รุ่น แต่ในบทความนี้ เราจะจำแนกฟิล์มตามกลุ่มโทนสียอดนิยม 5 สี ไม่ว่าจะเป็น ฟิล์มรถยนต์สีฟ้า สีเขียว สีชา สีเทา และสีดำ พร้อมตัวอย่างรุ่นฟิล์มขายดีของแต่ละสีมาให้ทุกคนได้ชมกัน ส่งตรงจากแคตาล็อก Lamina Films สนใจโทนสีไหน ลองคลิกดูได้ตามใจชอบเลย
ฟิล์มรถยนต์โทนสีเขียว
ตัวอย่างจาก Lamina Films
ฟิล์มรถยนต์โทนสีฟ้า
ตัวอย่างจาก Lamina Films
ฟิล์มรถยนต์โทนสีชา / สีบรอนซ์
ตัวอย่างจาก Lamina Films
ฟิล์มรถยนต์โทนสีเทา / สีควันบุหรี่
ตัวอย่างจาก Lamina Films
ฟิล์มรถยนต์โทนสีดำ (ชาโคล)
ตัวอย่างจาก Lamina Films
เกร็ดน่ารู้
นอกจากเรื่องสีสัน ผู้อ่านหลายท่านน่าจะเคยได้ยินกับชุดตัวเลข 40 / 60 / 80 กันมาบ้างแล้ว บางท่านน่าจะกำลังสงสัยอยู่แน่เลย ว่าแล้วตัวเลขเหล่านี้หมายถึงอะไรกันนะ? Lamina Films ไขข้อสงสัยให้เรียบร้อยครับ! ตามไปอ่านเพิ่มเติมกันได้เลยที่บทความ ฟิล์มรถยนต์ 40 / 60 / 80 ต่างกันอย่างไร?
|
เลือกสีฟิล์มรถยนต์ยังไงให้ดูแมตช์กัน
เป็นหนึ่งคำถามที่ทางทีมงานของเราถูกถามบ่อยมากที่สุด และก็ตอบได้ค่อนข้างยากเหมือนกันครับ! เพราะเราเชื่อว่า คุณผู้อ่านแต่ละคนต่างมีรสนิยมความชอบไม่เหมือนกันแน่นอน ฉะนั้น เราขอเพียงแค่ไกด์แนวทางติดฟิล์มยอดนิยมจากรีวิวติดฟิล์มจริงจากรถลูกค้าฟิล์มลามิน่า พร้อมรูปสวยๆ ที่เราเก็บมาฝากให้ทุกท่านดูเป็นไอเดียครับ
ชอบดำ เข้ม เท่ ดูดุดัน
ลุคนี้เป็นลุคยอดนิยมของคนรักรถ SUV สีดำเลยทีเดียวครับ เนื่องจากช่วยเพิ่มความเรียบหรู หล่อเนี๊ยบ น่าเกรงขาม ยังไงก็ตาม ก็ยังมีตัวเลือกของเฉดสีดำอีกสองแบบให้เลือกครับ ไม่ว่าจะเป็นแบบดำเงา หรือดำด้านเงาน้อยครับผม ซึ่งถ้าชอบแบบสีดำเงา อันนี้ก็ต้องเป็นฟิล์มประเภทเมทัลไลท์ผสมโลหะ (
ฟิล์มปรอท) แต่ถ้าชอบแบบโทนดำเงาน้อย อันนี้ต้องไปที่ฟิล์มประเภทเซรามิคหรือฟิล์มชาโคลเลยครับผม
ตัวอย่าง ฟิล์มรถยนต์ Lamina Digital Ceramatrix
BMW X5 สี Matte Black ของศิลปินชื่อดัง Gavind
ก็ติดฟิล์มเซรามิคแท้โทนสีดำ (ซอฟท์ ชาโคล) Lamina Ceramatrix ครับ
ชอบโทนสีให้ความ Luxury สไตล์ผู้บริหาร
ฟิล์มสไตล์นี้จริง ๆ จะเลือกโทนสีดำก็ได้เช่นกันครับ แต่เราก็ค้นพบว่ามีลูกค้าหลายๆ ท่านในกลุ่มผู้บริหาร ที่อยากให้รถมีรูปลักษณ์สุขุมลุ่มลึกมากขึ้น ก็เลือกเป็นโทนฟิล์มรถยนต์สีเทา, สีควันบุหรี่, หรือสีชา ซึ่งให้ความรู้สึกเรียบหรู ดูแล้วไม่รู้สึกดุดันจนเกินไปครับผม
ตัวอย่าง ฟิล์มรถยนต์ Lamina Digital Executive Boost Series
ชอบสีสันสดใส
สำหรับสไตล์นี้ แนะนำฟิล์มเงา ฟิล์มปรอทหรือฟิล์มโลหะได้เลยครับผม ซึ่งจะเหมาะกับฟิล์มโทนสีสดใส เพราะความเงาของวัสดุโลหะ จะช่วยเน้นคาแรกเตอร์ของสีฟิล์มมีความชัดเจน สดใส มากขึ้น ไม่ว่าจะติดกับรถเก่า หรือรถใหม่ ก็ช่วยทำให้รถดูเหมือนใหม่ขึ้น มีชีวิตชีวาขึ้นมากครับ
ตัวอย่าง ฟิล์มรถยนต์ Lamina Digital Special Boost Series
สีฟิล์มรถยนต์ที่ต่างกัน เกิดจากอะไร?
สีฟิล์มรถยนต์ ต่างกันเพราะอะไร? อยากรู้ต้องค่อยๆ แกะรอยย้อนกลับไปถึงกระบวนการผลิตฟิล์มกรองแสงครับ ซึ่งหลัก ๆ ฟิล์มที่มีจำหน่ายในเมืองไทย ส่วนใหญ่จะมี 4 วิธีด้วยกัน นั่นคือ
- ย้อมสีฟิล์มโดยการฉาบ (Color Coating Film)
คือ การผสมเม็ดสีเข้ากับเนื้อกาวแล้วฉาบย้อมสีลงบนหน้าแผ่นฟิล์มซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ให้สีฟิล์มไม่คงทน อายุการใช้งานต่ำ และไม่กันความร้อนครับ
- ย้อมสีฟิล์มโดยการฝังสีด้วยไอร้อน (Deep Dyeing Film)
คุณสมบัติฟิล์มคล้ายกับฟิล์มฉาบสีในข้อที่แล้ว แต่จะต่างกันตรงกรรมวิธีที่เปลี่ยนจากการเคลือบผิว เป็นการฝังสี ซึ่งวิธีนี้สีจะเข้าไปติดทนแน่นกว่าแบบ Color Coating ซึ่งช่วยเพิ่มคุณสมบัติการกันยูวีได้พอสมควร
- เคลือบสารด้วยไอร้อน (Thermal Evaporation Film)
ผนึกสารกันร้อนโดยการทำให้โลหะหรืออโลหะเกิดการระเหิดภายใต้ห้อง (Chamber) ที่มีอุณหภูมิสูง ณ จุดเดือดของวัสดุนั้น ๆ เมื่อสารกันร้อน ไม่ว่าจะเป็น อลูมิเนียม ไททาเนียม เงิน ฯลฯ เปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นไอแก๊สของสสารนั้นๆ แล้ว แก๊สหรือไอนี้ก็จะลอยไปติดที่เนื้อฟิล์มนั่นเอง
- ผนึกอนุภาคนาโนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetron Sputtering Coating)
เป็นการใช้วิธีสปัตเตอริ่ง หรือการยิงประจุอิเล็กตรอนภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปกระแทกอนุภาคของสารกันความร้อนให้แตกตัวในระดับนาโนอะตอม และลอยไปตามแรงผลักของกระแสแม่เหล็กไฟฟ้าแรงดันสูง จนไปผนึกฝังแน่นในเนื้อแผ่นฟิล์มครับ
จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างบน คุณผู้อ่านคงพอเข้าใจมากขึ้นแล้วนะครับว่า ฟิล์มกรองแสงที่มีสีต่างกันนั่นเกิดจากเม็ดสีที่ใช้เคลือบหรือฝังเข้าไปในเนื้อแผ่นฟิล์มโดยตรง นอกจากชั้นสีแล้ว วัสดุกันความร้อนที่ใช้ก็ส่งผลถึงสีฟิล์มเหมือนกัน อย่างเช่น ใช้โลหะก็จะมีคุณสมบัติความเงา แต่ในเรื่องสีสันก็ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ด้วย เช่นการใช้ถ่านคาร์บอน ซึ่งเป็นวัสดุชาโคลที่มีสีดำโดยธรรมชาติเคลือบบนแผ่นฟิล์ม ผลลัพธ์ของฟิล์มก็จะมีเฉดสีโทนดำเข้มขึ้นไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เม็ดสีที่เคลือบ/ฝังบนแผ่นฟิล์มโดยตรง ก็ยังมีผลกับสีฟิล์มมากกว่าตัววัสดุกันความร้อน ครับ
รู้หรือไม่? สีฟิล์มรถยนต์ สามารถสร้างสรรค์สีได้หลักหลายพันเฉดสี!
ที่โรงงาน Eastman Performance Films, LLC USA (โรงงานผลิตฟิล์มกรองแสงชั้นนำที่สหรัฐอเมริกา โรงงานที่ผลิตฟิล์มกรองแสงคุณภาพเยี่ยมของทาง Lamina) ในส่วนของแผนกย้อมสี (Dye House) สามารถสร้างสรรค์สีของฟิล์มออกมาได้มากถึงกว่า 4,000 สี โดยการผสมจาก 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง, สีเหลือง, สีน้ำเงิน โดยขั้นตอนนี้ จะมีการนำสารดูดซับรังสี UV ผสมเข้าไปในผงสีเข้าไปด้วยครับ
|
ฟิล์มสีต่างกัน มีคุณสมบัติต่างกันมั้ย?
อย่างที่ข้างต้นได้อธิบายถึงเทคโนโลยีการผลิตฟิล์มไปนะครับ เราได้เห็นแล้วว่า สีฟิล์มที่ต่างกัน ไม่ได้ส่งผลถึงคุณสมบัติเฉพาะของตัวฟิล์มมาก เป็นเพียงสีสันเพื่อความสวยงามเป็นหลัก หากอยากจะเลือกฟิล์มตามคุณสมบัติที่แท้จริง ตรงใจ ลามิน่าแนะนำให้ดูที่สเปคฟิล์มเป็นหลักจะดีที่สุดครับ ได้แก่
- ค่าแสงส่องผ่าน (Visible Light Transmission : VLT)
- ค่าการสะท้อนแสง (Visible Light Reflection : VLR)
- ค่าการลดรังสี UV (UV Rays Rejection : UVR)
- ค่าการลดความร้อนจากแสงแดด (Total Solar Energy Rejection : TSER)
ซึ่งค่าต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นตัวบอกถึงคุณสมบัติของฟิล์มกรองแสง ไม่ว่าจะเป็น ค่าการป้องกันความร้อนได้มากน้อยเท่าไหร่ (ดูจากค่า TSER), ค่าการสะท้อนแสงหรือความเงาของฟิล์มมากน้อยเท่าไหร่ (ดูจากค่า VLR), ค่าความเข้มของฟิล์มมากน้อยแค่ไหน (ดูจากค่า VLT) เป็นต้น สรุปแล้วก็คือ สีฟิล์มที่ต่างกัน ไม่ได้บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของฟิล์ม นั่นเองครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
รู้เรื่องของฟิล์มกรองแสงแบบเจาะลึกให้เข้าใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเภทต่างๆ ของฟิล์มกรองแสง รวมไปถึงวิธีการอ่านสเปคแบบละเอียด ต้องตามไปอ่านกันแบบฉบับเต็มที่บทความ ฟิล์มกรองแสง
|
สรุป
สรุปแล้ว รถของคุณควรติดฟิล์มกรองแสงสีอะไร? แบบไหนดี? ทั้งหมดก็เป็นเรื่องของรสนิยมและความชอบส่วนบุคคลครับ ยังไงก็อย่าลืมฟังก์ชันการใช้งานจริงโดยเฉพาะทัศนวิสัยการขับขี่ หากคุณขับรถกลางคืนบ่อยๆ กระจกบานหน้าจะเลือกสีฟิล์มสีใดก็ได้ แต่ไม่ควรเข้มจนเกินไป (แนะนำควรมีค่าแสงส่องผ่าน (VLT) >30%) เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการมองเห็นในระยะยาว เท่านี้ก็ถือว่าโอเคแล้ว นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับเมื่อคุณเลือกสีฟิล์มที่ชอบได้แล้ว คุณยังควรใส่ใจในเรื่อง
- ร้านติดฟิล์มรถยนต์ ต้องเลือกร้านที่มีความน่าเชื่อถือ และมีการติดตั้งฟิล์มภายในสถานที่ที่เหมาะสม อาทิมีห้องติดฟิล์มปลอดฝุ่น หรือมีช่างติดตั้งฟิล์มที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี (ถ้าอยากหาศูนย์ติดฟิล์มที่น่าเชื่อถือได้ ลามิน่าแนะนำ หาดูได้ที่นี่เลย >>> ร้านติดฟิล์มรถยนต์)
- ราคาเหมาะสมกับคุณสมบัติของฟิล์ม ตรงปก ไม่ย้อมแมว
- มีโรงงานผู้ผลิตฟิล์มระบุชัดเจน และได้รับการรับรองระดับมาตรฐานสากล
- มีการรับประกันคุณภาพฟิล์มจากทางผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ
ถ้าอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ แล้วยังคิดไม่ตกอยู่ดีว่าจะติดฟิล์มสีอะไร? ลามิน่าคิดว่าคุณต้องใช้ตัวช่วยแล้วล่ะครับ ไปทำแบบจำลองติดฟิล์มกันดีกว่า รับรองว่าช่วยให้เห็นภาพมากขึ้นแน่นอนครับ