ติดฟิล์มลามิน่า บูสต์ชีวิตให้เป็น 1 กับโลกดิจิทัล - Boost Up your Life

Easy Pass ตัวช่วยประหยัดเวลาในการขึ้นทางด่วน

SHARE

 
หากคลิ๊กเข้ามาอ่านบทความนี้จากลามิน่า แน่นอนว่าคุณคงอยากทราบว่าการทำงานของ “Easy Pass” เกี่ยวกับฟิล์มติดกระจกรถยนต์อย่างไร แต่ก่อนอื่น เราไปทำความรู้จักกับ Easy Pass ให้มากขึ้น ด้วยข้อมูลจาก กทพ. กันก่อนครับ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวกับเทคโนโลยีพอสมควร แต่ลามิน่ารับประกันว่าเราจะเล่าด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายที่สุด ที่สำคัญเรายังมีข่าวอัพเดทใหม่อย่าง Easy Pass Plus มาฝากกันกันด้วย ถ้าพร้อมแล้วตามมาดูกันต่อที่บทความได้เลยครับ
 
อยากเลือกอ่านแค่บางหัวข้อที่สนใจ กดที่ชื่อหัวข้อได้เลยครับ
 
 

Easy Pass คืออะไร?

Easy Pass คืออะไร?

Easy Pass คือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการเก็บค่าผ่านทางโดยใช้ระบบอัตโนมัติพิเศษ (Electronic Toll Collection System: ETC) ที่จะเป็นการเติมเงินเข้าในระบบและเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เป็นสื่อในการชำระค่าผ่านทางซึ่งติดหน้ากระจกรถยนต์ ทำให้ผู้ขับรถไม่ต้องจอดรถเพื่อแวะชำระค่าผ่านทาง ช่วยลดระยะเวลาและลดปัญหาการจราจรติดขัดได้
 

ประโยชน์ของ Easy Pass

การใช้ Easy Pass ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่รถยนต์ได้เป็นอย่างมากเลยครับผม และนอกจากเรื่องของความสบายที่ไม่ต้องเปิดกระจกรถแล้ว ยังมีประโยชน์อีกหลาย ๆ ทางเลยล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็น
  • ลดระยะเวลาที่ผู้ขับต้องใช้ในการชำระค่าผ่านทาง เพราะชำระเงินสะดวก ไม่ต้องมาคอยเปิดกระจกนับเงินและรอเงินทอน
  • เมื่อคิวรอชำระเงินเคลื่อนตัวได้เร็ว ก็ช่วยลดแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง และยังช่วยลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมต่อชุมชนโดยรอบได้ครับ
  • ลดระยะเวลาการเดินทาง เพราะไม่ต้องรอต่อคิวนาน ผลพลอยได้คือช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงได้อีกด้วย (งานวิจัยในปี 2017 สรุปไว้ว่า รถยนต์ที่วิ่งในสภาวะการจรติดขัดจะใช้พลังงานสิ้นเปลืองมากขึ้นถึง 15.6% เลยทีเดียวนะ)
  • ในยุคที่การแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่าง ๆ เป็นไปได้ง่ายดายแบบนี้ การจะหยิบจับส่งต่ออะไรก็ต้องระมัดระวัง ดังนั้นการใช้ Easy Pass จึงเป็นอีกทางที่ช่วยลดการสัมผัสเงินสด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคต่างๆ จากการสัมผัสไปในตัวด้วยครับ
  • ในสังคมยุค Cashless ในปัจจุบัน หลาย ๆ คนอาจลืมพกเงินสดติดตัวไว้ ถ้าใครใช้ Easy Pass ก็สามารถเติมเงินเข้าระบบได้สะดวกสบายมากเลยครับ
  • สามารถใช้ร่วมกันได้หลากหลายเส้นทาง สามารถวางแผนการเดินทางได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
จากเดิมที่ต้องเตรียมเงินสด > เปิดกระจกรถยนต์เพื่อยื่นเงิน > รอเงินทอน ทำให้เสียเวลาในการเตรียมตัวต่าง ๆ รวมทั้งยุคนี้ ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเกิดได้ง่ายมาก ทำให้การสัมผัสสิ่งของและส่งต่อกัน จึงมีโอกาสเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น การใช้ Easy Pass จึงเป็นทางเลือกที่ดีเลยครับ แค่ติด Easy Pass ไว้ในรถ และขับวิ่งผ่านช่องทางเก็บเงินพิเศษ เท่านี้ก็ชำระเงินค่าผ่านทางเรียบร้อย
 
อัปเกรดใหม่! กับ Easy Pass Plus+
เผื่อบางท่านอาจจะยังไม่ได้เห็นข่าวนี้ผ่านตา ตอนนี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ได้มีการอัปเดตตัวระบบของ Easy Pass แล้วนะครับ ไปเป็น Easy Pass Plus+ สู่ยุคแห่งการเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้นไปพร้อมๆ กับระบบ M-Flow เพื่อเตรียมรองรับการใช้งานที่ครอบคลุมการเดินทางในหลากหลายเส้นทางมากยิ่งขึ้น 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  1. https://www.thansettakij.com/
    economy/533741
  2. https://www.thaieasypass.com/
    th/detail-news/107
 

Easy Pass ใช้ยังไง

การใช้งานของระบบ Easy Pass จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยกัน คือ
1. บัตร Smart Card
เป็นบัตรที่มีเลข Serial Number (S/N) ซึ่งเป็นหมายเลข 10 หลัก ที่จะเป็นตัวเลขประจำตัวของเครื่องนั้น สามารถนำเลข S/N นี้ไปใช้ในการเติมเงินค่าผ่านทางเข้าระบบบัญชีของผู้ใช้บริการได้
 
บัตร Smart Card ของ Easy Pass
ตัวอย่าง บัตร Smart Card และเลข Serial Number ด้านหลังบัตร
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก
www.thaieasypass.com
2.  บัตร Easy Pass (OBU หรือ Tag)
เป็นอุปกรณ์ติดกระจกหน้ารถยนต์ ใช้สำหรับเป็นสื่อในการชำระค่าผ่านทางเมื่อรถวิ่งผ่านช่องทางพิเศษสำหรับ Easy Pass โดยที่ตัวบัตรจะมีหมายเลข 19 หลักติดประจำเครื่องอยู่ เครื่องนี้จะทำหน้าที่สื่อสารกับเสาอากาศที่ติดตั้งอยู่ในช่องเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติเพื่ออ่านค่าพร้อมตัดยอดเงินในบัญชีของผู้ใช้บริการตามอัตราค่าผ่านทาง
 
บัตร Easy Pass
ตัวอย่าง เลข OBU ที่อยู่ใต้บัตร Easy Pass
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก www.thaieasypass.com
 

ทางด่วนสายไหนบ้าง ที่ใช้ Easy Pass ได้?

สำหรับทางด่วนที่สามารถใช้กับระบบของ Easy Pass ได้นั้น ได้แก่
  • ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (ช่วงกรุงเทพฯ-ชลบุรี)
  • ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (ช่วงบางปะอิน – บางพลี)
  • ทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยทุกสายทางดังนี้
    • ทางพิเศษเฉลิมมหานคร  - ทางพิเศษฉลองรัช 
    • ทางพิเศษศรีรัช - ทางพิเศษบูรพาวิถี 
    • ทางพิเศษอุดรรัถยา
    • ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)
    • ทางพิเศษศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
 
 

Easy Pass ซื้อได้ที่ไหน? สมัครยังไง?

Easy Pass ซื้อได้ที่ไหน? สมัครยังไง?

จากที่ได้อ่านข้อมูลข้างบนกันไป เห็นแล้วใช่มั้ยล่ะครับ ว่า Easy Pass เนี่ยเป็นไอเทมที่น่ามีติดรถไว้มาก ๆ เลย สำหรับท่านที่ยังไม่เคยมี Easy Pass และอยากหาซื้อ สามารถทำตามนี้ได้เลยครับ

Easy Pass สมัครได้ง่าย ๆ เพียงเตรียมเอกสารดังนี้
  • สำหรับบุคคลธรรมดา
    • บัตรประชาชน (ตัวจริงหรือสำเนา)
  • สำหรับนิติบุคคล
    • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ชุด (พร้อมประทับตราบริษัทและรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ 1 ท่าน)
    • สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) จำนวน 1 ชุด (พร้อมประทับตราบริษัทและรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ 1 ท่าน)
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ 1 ท่าน จำนวน 1 ชุด (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)

Easy Pass สามารถหาซื้อได้ที่
  • ศูนย์บริการ One Stop Service Center
ที่ตั้ง : ชั้น 1 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
เวลาทำการ : วันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 8.30 - 15.30 น.
  • Easy Pass Fast Service
ที่ตั้ง : จุดพักรถ ปั๊ม ปตท. บางนา (ขาออก)
เวลาทำการ : วันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) 9.30 - 15.30 น.
  • อาคารด่านเก็บค่าผ่านทาง
ที่ตั้ง : ได้ทุกด่านในทางพิเศษเหล่านี้ ได้แก่
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางพิเศษบูรพาวิถี
- ทางพิเศษบางพลี-สุชสวัสดิ์ (ยกเว้นด่านบางครุ 3 และ เทพารักษ์)
เวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 5.00 - 22.00 น.
  • สมัครผ่านออนไลน์ ได้ที่แอพพลิเคชั่น True Money Wallet
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.truemoney.com/easypass/
 
 

Easy Pass เติมเงินยังไง?

Easy Pass เติมเงินยังไง?

ปัจจุบัน การทางพิเศษฯ ได้ร่วมมือกับหลากหลายหน่วยงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการเติมเงินเข้าระบบ Easy Pass ให้ง่ายยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกเติมเงินได้ทั้งผ่านช่องทางหน่วยงานภายในการทางพิเศษฯ และช่องทางของพันธมิตรที่เป็นหน่วยงานนอกการทางพิเศษฯ
 
บัตร Smart Card ของ Easy Pass
รายละเอียดช่องทางต่าง ๆ ที่สามารถชำระเงิน
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก www.thaieasypass.com
 

วิธีตรวจสอบยอดเงิน

ถ้าใครจำไม่ได้ว่าในบัตร Easy Pass ของเรามียอดเงินเหลืออยู่เท่าไหร่ … ไม่ต้องกังวลไปครับ เพราะเราสามารถตรวจสอบยอดคงเหลือด้วยตนเองได้ง่าย ๆ ผ่าน 4 ช่องทางเหล่านี้ได้เลย
  1. www.thaieasypass.com โดยเมื่อเข้าใช้งานในครั้งแรก ต้องลงทะเบียนด้วยหมายเลขบัตร Easy Pass ที่ปรากฏด้านหลังบัตร (หมายเลข 19 หลัก) และหมายเลข Smart Card (หมายเลข 10 หลัก)
  2. แอปพลิเคชั่น EXAT Portal จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) นอกจากจะสามารถตรวจสอบยอดเงินคงเหลือได้แล้ว ยังสามารถติดตาม Promotion และกิจกรรมต่างๆ ของทาง กทพ. ผ่านแอปพลิเคชันนี้ได้อีกด้วย Download ได้ที่ Google Play หรือ Apple Store ครับ
  3. EXAT Call Center โทร 1543 โดยแจ้งหมายเลขบัตร Easy Pass ที่ปรากฏด้านหลังบัตรหรือหมายเลข Smart Card ให้กับทางเจ้าหน้าที่ได้เลยครับ
  4. ติดต่อสอบถามได้ที่ อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษทุกสายทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
 
 

รวมปัญหาที่พบบ่อย เมื่อบัตร Easy Pass ใช้งานไม่ได้

รวมปัญหาที่พบบ่อย เมื่อบัตร Easy Pass ใช้งานไม่ได้

กำลังจะขึ้นทางด่วน แต่ไม่รู้ยอดเงิน ทำยังไงดี?

จากข้อแนะนำวิธีตรวจสอบยอดเงินข้างต้น 4 วิธี ในจังหวะคับขันแบบนี้ ลามิน่าแนะนำว่า ช่องทางที่สามารถตรวจสอบยอดเงินได้อย่างรวดเร็ว Real-Time ที่สุด ก็คงหนีไม่พ้น แอปพลิเคชั่น EXAT Portal และเว็บไซต์ www.thaieasypass.com ครับ หน้าตาของแอปฯ ก็ใช้งานได้ไม่ยาก สามารถดูตามภาพตัวอย่างด้านล่างได้เลย
 
แอพลิเคชั่น EXAT Portal
สามารถดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น EXAT Portal
ได้ทั้งทาง Google Play และ App Store
ขอขอบคุณภาพประกอบจากwww.thaieasypass.com
 

แบตเตอรี่ของบัตร Easy Pass หมดอายุ ต้องทำอย่างไร?

ก่อนอื่น บัตร Easy Pass เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการใช้แบตเตอรี่ภายในตัว โดยแบตมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 7 ปี หรือประมาณ 14,000 เที่ยว สำหรับวิธีการตรวจสอบวันหมดอายุเบื้องต้นของบัตร Easy Pass สามารถดูได้ที่แถบจำนวนตัวเลข 23 หลักที่อยู่ด้านข้างอุปกรณ์ โดยมีวิธีสังเกต ดังนี้
 
Easy Pass หมดอายุ
ตัวอย่างแถบตัวเลขจำนวน 23 หลักที่อยู่ด้านข้างอุปกรณ์
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก
www.autoinfo.co.th
 
ให้สังเกตดูเฉพาะตัวเลข 4 ตัวสุดท้าย ตัวเลข 2 ตัวรองสุดท้าย จะหมายถึงปี ค.ศ. ที่ผลิต ตัวเลข 2 ตัวสุดท้ายหมายถึงสัปดาห์ที่ผลิตจากนั้นให้นับไปอีก 7 ปีถัดไป
ยกตัวอย่าง เช่น XXXX XXXX XXXXXXXXXXX2218 จะหมายถึง ผลิตในปี 2022 ในสัปดาห์ที่ 18 ซึ่งนั่นหมายความว่า บัตร Easy Pass ของท่านจะหมดอายุในอีก 7 ปีข้างหน้า สัปดาห์ที่ 18 ของปี ค.ศ. 2029 นั่นเอง และหากท่านไหนที่ตรวจสอบแล้วพบว่าบัตรหมดอายุแล้ว สามารถนำไปเปลี่ยนบัตรได้ที่ศูนย์ให้บริการของการทางพิเศษฯ โดยยื่นคำร้องพร้อมคืนอุปกรณ์บัตร Easy Pass (ทั้งตัวอุปกรณ์ติดหน้ารถ และบัตร Smart Card) 
อย่างไรก็ตาม หากท่านไม่มีบัตรจะต้องชำระค่าอุปกรณ์สูญหาย แบ่งเป็น บัตร Easy Pass ต้องจ่ายค่าปรับ 1,000 บาท ส่วน Smart Card ต้องจ่ายเพิ่มอีก 100 บาท (อื้อหืม! เจ็บอยู่เหมือนกันนะ ฉะนั้นอย่าทำหายดีกว่าครับ) แต่สำหรับยอดเงินคงเหลือที่อยู่ในบัตร จะถูกโอนคืนเข้าบัญชีของเจ้าของบัตรในภายหลัง หากอ่านจุดนี้แล้วยังรู้สึกมีข้อสงสัย สามารถชมคลิปวิดีโอด้านล่างนี้ได้เลย
 
VDO ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแบตเตอรี่ Easy Pass จากทาง กทพ. ครับ
 
 

Easy Pass ไม่อ่าน เกิดจากอะไร?

Easy Pass ไม่อ่าน เกิดจากอะไร?

นี่คือ ปัญหาที่ผู้ใช้ Easy Pass หลายท่านมีโอกาสเจอ นั่นก็คือ … การที่ขับรถมาในเลนพิเศษเพื่อเตรียมผ่านช่องเก็บเงินบน Easy Pass แต่แล้วไม้กั้นกลับไม่เปิด เพราะบัตร Easy Pass ไม่อ่าน! (ซะอย่างนั้น) ผู้เขียนเองก่อนจะได้รู้จักกับฟิล์มลามิน่า ก็เคยเจอกับเหตุการณ์แบบนี้เหมือนกันครับ…รู้สึกเขินอายต่อหน้าเจ้าหน้าที่และเพื่อนผู้ร่วมใช้ถนนทุกครั้งที่ ตื้ด !!! ไม่ผ่าน 
บางครั้งเคยถึงขั้นต้องใส่เกียร์ R ถอยรถออกจากเลน Easy Pass กันเลย (คงไม่ต้องเล่าเพิ่มนะครับว่าโมเม้นนั้นมันรู้สึกชวนอึดอัดขนาดไหน) ก่อนที่จะอินกับภาพในอดีตของผู้เขียนไปมากกว่านี้ เราต้องทำความเข้าใจวิธีการทำงานของ Easy Pass กันดีกว่าครับ
ถ้าอธิบายแบบสั้นๆ เลยล่ะก็ … Easy Pass ถือว่าเป็นระบบอ่านบัตรระยะไกลที่ทำงานด้วยสัญญาณบลูทูธ รับ-ส่ง สัญญาณระหว่างบัตร Easy-Pass และเสารับสัญญาณที่ช่องเก็บค่าผ่านทาง โดยการทำงาน มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ครับ
  1. ติด Easy Pass ไว้ที่บริเวณหน้ากระจกรถยนต์ตามตำแหน่งที่ทาง กทพ. แนะนำ 
  2. ขับเข้าช่องทางพิเศษของ Easy Pass (ที่พื้นจะตีเส้นสีฟ้าไว้เด่นชัดเลยครับ)
  3. ชะลอความเร็วรถให้ต่ำกว่า 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง (หากขับเร็วเกินไป ระบบการอ่านสัญญาณอาจจับไม่ทัน รวมถึงอาจเกิดเหตุอันตรายด้วยนะครับ ลามิน่าเป็นห่วงทุกท่าน)
  4. เสาอากาศอ่านสัญญาณบลูทูธเพื่อตัดเงินจาก Easy Pass
  5. ไม้กั้นยกขึ้น ก็ขับผ่านไปได้ทันที
เพราะฉะนั้นการที่ระบบไม่อ่านบัตร Easy Pass ส่วนมากจะเกิดการผิดพลาดในขั้นตอนการรับ-ส่งสัญญาณบลูทูธ ซึ่งปัญหาที่ตามมามักจะพบได้จากสาเหตุ
 

1. ไม่ติดตั้ง Easy Pass ในตำแหน่งตามที่ กทพ. แนะนำ 

ได้อ่านกันไปแล้ว ว่าขั้นตอนหลักที่ทำให้ Easy Pass ทำงาน นั่นก็คือ “การอ่านสัญญาณบลูทูธ ของตัวรับ-ตัวส่ง” ฉะนั้น ตำแหน่งที่ติดตั้งบัตร Easy Pass จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพการอ่านสัญญาณของ Easy Pass โดยตรงครับ ซึ่งตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งบัตร Easy Pass คือบริเวณหลังกระจกมองหลัง หรือบริเวณที่ผืนกระจกมีลายจุด (ซึ่งช่างติดฟิล์มลามิน่าจะเรียกกันว่า จุดไข่ปลา)
โดยในการติดตั้ง จะต้องลอกเทปกาวออกจากตัวล็อก (ขายึด) และหลักจากลอกเทปกาวออกแล้วให้นำตัวล็อกไปติดไว้ที่หลังกระจกมองหลัง ในตำแหน่งบริเวณกึ่งกลางกระจกหน้ารถยนต์ แล้วจึงนำอุปกรณ์ Easy Pass ใส่เข้ากลับไปยังตัวล็อก (ขายึด) ใส่จากด้านขวาไปด้านซ้าย เท่านี้เป็นอันเรียบร้อย
 
วิธีติดตั้ง Easy Pass
ข้อมูลแนะนำขั้นตอนการติดตั้งบัตร Easy Pass จาก EXAT
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก
www.thaieasypass.com
 
อย่าหาทำ! ถ้าอยากขับผ่าน Easy Pass ฉลุย!
ผู้เขียนเองเคยไปเจอ Content Creator ในโลก Youtube แนะนำเกี่ยวกับการใช้ Easy Pass มาครับ (ขอไม่เอ่ยชื่อนะ) ซึ่งแนะนำให้ไม่ต้องติด Easy Pass (ที่มีเลข OBU) บริเวณกระจกหน้า แต่กลับสาธิตวิธีการใช้งานด้วยการถืออุปกรณ์ชูขึ้นไปที่กระจกแทน แล้วขับรถพวงมาลัยมือเดียวเข้าด่าน Easy Pass ซึ่งลามิน่าขอบอกเลยว่า อย่า หา ทำ นะครับ 
เพราะการใช้งานที่ผิดวิธีแบบนี้ อาจเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เช่น บัตร Easy Pass ตกหล่นเสียหาย หรืออาจกระเด็นไปอยู่บริเวณหลืบมุมใต้เบาะจนหาไม่เจอ จนต้องก้มๆ เงยๆ ขับรถมือเดียว ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งตัวเราเองและผู้ขับขี่คนอื่น แถมยังทำให้รถคันหลังที่ต้องรอเวลาเราก้มหาบัตรอีกด้วย
ดังนั้น ลามิน่าขอให้แนะนำให้ทุกท่านติด Easy Pass อย่างถูกวิธีกันตามที่ ผู้ว่าการ กทพ. แนะนำ จะดีกว่าครับ เพื่อความสะดวกในการใช้งานและความปลอดภัยต่อเจ้าของรถและเพื่อนร่วมทางนั่นเอง
 

2. ฟิล์มกรองแสงไม่รองรับฟังก์ชันดิจิทัล ปิดกั้นการอ่าน Easy Pass

การที่ฟิล์มกระจกรถยนต์มีส่วนผสมของโลหะผนึกในเนื้อฟิล์ม มีส่วนสำคัญที่ทำให้การรับ-ส่งสัญญาณ Bluetooth ติดขัดได้ จึงทำให้ตัวรับสัญญาณไม่อ่านจาก OBU Tag ได้ หากคุณยังไม่มั่นใจกับข้อมูลจุดนี้จากทางลามิน่า ลองอ่านข้อมูลจากทาง กทพ. ก่อนก็ได้ครับ เพราะในเว็บไซต์ของ กทพ. ถึงขั้นระบุวิธีการกรีดฟิล์มติด Easy Pass อย่างละเอียดขนาดนี้
 
วิธีกรีดฟิล์ม เพื่อติดตั้ง Easy Pass
วิธีกรีดฟิล์ม เพื่อติดตั้ง Easy Pass
คำแนะนำจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก www.thaieasypass.com
 
 

ฟิล์มกรองแสงแบบไหน รองรับสัญญาณ Easy Pass

ฟิล์มกรองแสงแบบไหน รองรับสัญญาณ Easy Pass

สาเหตุที่ชนิดของฟิล์มกรองแสงส่งผลต่อการทะลุผ่านของคลื่นสัญญาณต่างๆ ได้ดีแค่ไหนนั้น เกิดจากกรรมวิธีการผลิตของฟิล์มกรองแสงที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะวัสดุที่ใช้ผนึกเพื่อสร้างชั้นป้องกันความร้อนในเนื้อฟิล์ม (ไม่ใช่ความเข้มของสีอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจนะครับ) ในตารางข้างล่างนี้ ลามิน่าขอสรุปเป็นตารางเข้าใจง่ายๆ ถ้าใครอยากอ่านแบบจัดเต็มเลย สามารถตามไปอ่านได้ที่บทความ ฟิล์มรถยนต์ นะครับ
ประเภทฟิล์มรถยนต์ วัสดุที่ผนึกในชั้นฟิล์ม การผ่านสัญญาณ Easy Pass
ฟิล์มย้อมดำ ไม่ได้ผนึกสารกันความร้อนใด ๆ บนแผ่นฟิล์ม มักเคลือบสีดำลงบนแผ่นฟิล์มเท่านั้น ผ่านดี
แต่ไม่มีประสิทธิภาพการกันความร้อนแต่อย่างใด ไม่เหมาะกับเมืองไทยอย่างยิ่ง
ฟิล์มโลหะ
(ฟิล์มปรอท)
ใช้สารโลหะประเภทต่างๆ ผนึกในเนื้อฟิล์ม เพิ่มประสิทธิภาพการกันความร้อน ผ่านไม่ดี - ปานกลาง
ขึ้นอยู่กับความเงาของวัสดุโลหะที่ใช้ในการผลิต
ฟิล์มใสกันร้อน ใช้สารโลหะ /เงิน /แพลททินัม หรือสารอโลหะ เช่น เซรามิค เป็นส่วนประกอบในการผนึกเนื้อฟิล์ม ผ่านไม่ดี - ดี
ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ใช้ในการผลิต หากเป็นเซรามิคจะรองรับสัญญาณดิจิทัลดี
ฟิล์มเซรามิค ใช้สารอโลหะอย่างเซรามิคเป็นหลัก มาผนึกในเนื้อฟิล์ม เพื่อใช้เป็นสารกันความร้อน ผ่านดีเยี่ยม
มาตรฐานฟิล์มกรองแสงที่กำลังนิยมในปัจจุบัน
ฟิล์มชาโคล
(หรือ ฟิล์มคาร์บอน)
ใช้วัสดุคาร์บอน หรือ ชาโคล มาผนึกในเนื้อฟิล์ม ผ่านดีเยี่ยม
เป็นรองฟิล์มเซรามิคแค่ความเคลียร์ชัด
ฟิล์มนิรภัย แผ่นฟิล์มที่ผนึกสารกันร้อนทั้งจากโลหะ หรือ อโลหะ  โดยเน้นให้เนื้อฟิล์มหนากว่าฟิล์มทั่วไป 2-4 เท่า ผ่านไม่ดี - ดี
ขึ้นกับวัสดุ+ความหนาของเนื้อฟิล์ม
ฟิล์มดิจิทัล ผลิตด้วยเซรามิค 100% ชนิดพรีเมี่ยมพิเศษ ภายใต้เทคโนโลยีเฉพาะ Digital Boost  ผ่านดีเยี่ยม
มาตรฐานใหม่ฟิล์มกรองแสง เพื่อรถสมาร์ทคาร์    ช่วยบูสต์สัญญาณดิจิทัลยุคใหม่ เร็ว แรง ลื่น เสถียร กันร้อนสูง ไปพร้อมกัน
 
จากตารางสรุปข้อมูลข้างบนต้นนี้ จึงเห็นได้ชัดเจนครับว่า “ฟิล์มปรอท” ที่มีส่วนผสมของโลหะ มีแนวโน้มที่จะรบกวนการทำงานของ Easy Pass ไม่มากก็น้อย ฉะนั้นหากเจ้าของรถท่านใดที่ติดฟิล์มที่มีส่วนผสมของโลหะสูง ก็อาจมีจังหวะสะดุดระหว่างวิ่งเข้าเลน Easy Pass กันอยู่บ้างจนต้องถอยเข้าถอยออก เพื่อการใช้งาน Easy Pass อย่างราบรื่นคุณอาจจำเป็นต้องกรีดฟิล์มเป็นช่องให้สัญญาณผ่านเข้าสู่ตัวรถง่ายขึ้น
แต่ถ้าคุณเลือกติดฟิล์มลามิน่า ก็สามารถสบายใจได้ครับ เพราะเราได้มีการนำฟิล์มทุกรุ่นไปตรวจสอบการใช้งานจริงกับด่าน Easy Pass จำนวน 3 ครั้ง ฟิล์มรุ่นใดก็ตามที่สามารถ รับ-ส่ง สัญญาณ Easy Pass ได้อย่างไม่มีติดขัด ทาง Lamina Films จะติดสัญลักษณ์ Easy Pass OK   แบบนี้ไว้เสมอ คุณจึงมั่นใจในการใช้งานจริงได้เลย
 
 

สรุป

ผู้ขับรถที่ใช้ทางด่วนพิเศษเป็นประจำ Easy Pass เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ท่านได้มากทีเดียวเลยครับ ทั้งลดระยะเวลาและลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโรคจากผู้อื่น แต่ทั้งนี้หลายคนก็อาจเจอกับปัญหาในระหว่างการใช้งาน Easy Pass ได้ ไม่ว่าจะเป็น บัตร Easy Pass ใช้ไม่ได้ ทั้งที่ Easy Pass มีเงินแต่ไม่ผ่านอยู่ดี ซึ่งอาจมีสาเหตุจากแบตเตอรี่หมด หรืออาจเกิดจากฟิล์มรถยนต์ที่ท่านใช้อยู่ปิดกั้นสัญญาณ
สำหรับปัญหาแบตเตอรี่หมด หลายท่านอาจจะเจอไม่บ่อยนัก เพราะแบตเตอรี่ของบัตร Easy Pass สามารถใช้งานได้นานถึงประมาณ 7 ปี แต่สาเหตุของปัญหาจริงๆ ที่คุณอาจมองข้ามก็คือ “ฟิล์มรถยนต์” เอง โดยเฉพาะฟิล์มกรองแสงที่ไม่ได้ออกแบบการผลิต ให้รองรับกับชีวิตยุคดิจิทัล แต่ถ้าคุณเลือกฟิล์มลามิน่าที่มีสัญลักษณ์ Easy Pass OK  แบบนี้ ยังไงก็ผ่าน Easy Pass ฉลุยครับ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
 โทร. 02-422-2345
 Facebook : m.me/LaminafilmsHQ
 LINE : https://lin.ee/ot1aDYm
 
ไม่ต้องกรีดฟิล์ม
เพื่อติดตั้ง EASY PASS !
แค่เปลี่ยนมาใช้
Lamina Digital Boost
 
คลิปรีวิวฟิล์มรุ่น Lamina Ceramatrix Boost หนึ่งในฟิล์ม 5 ซีรีย์จาก Lamina Digital Boost
 
ฟิล์มกรองแสงรองรับทุกไลฟ์สไตล์ในยุคดิจิทัล ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานกับชีวิตยุคดิจิทัลโดยเฉพาะ เมื่อติดตั้งแล้วคุณไม่จำเป็นต้องกรีดฟิล์มเป็นช่องให้วุ่นวายตามคำแนะนำของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยอีกต่อไป เพราะเป็นเนื้อฟิล์มที่ผลิตจากเซรามิคเจเนอเรชันใหม่ เหมาะกับการใช้งานกับ Easy Pass และฟังก์ชันดิจิทัลทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ADAS, Navigator, 5G หรือ WiFi ให้
  • เร็ว...ตอบสนองทุกฟังค์ชั่นดิจิทัลในรถ
  • แรง...รับส่งข้อมูลเต็มประสิทธิภาพ
  • ลื่น...ออนไลน์ลื่นไหลไม่มีสะดุด
  • เสถียร...สัญญาณดิจิทัลไม่อ่อน / หลุด / หาย